การประกอบธุรกิจการค้าอาจดำเนินการได้หลายรูปแบบทั้งโดยบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของกิจการโดยลำพัง หรืออาจดำเนินการโดยร่วมลงทุนกับบุคคลอื่นเป็นกลุ่มคณะก็ได้การที่จะตัดสินใจเลือกดำเนินธุรกิจการค้าในรูปแบบใดนั้น ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบที่สำคัญหลายประการด้วยกัน เช่น ลักษณะของกิจการค้า เงินทุน ความรู้ความสามารถในการดำเนินธุรกิจเป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้การประกอบธุรกิจนั้นประสบผลสำเร็จ นำมาซึ่งผลประโยชน์และกำไรสูงสุด
รูปแบบองค์กรธุรกิจ
เป็นนิติบุคคล (จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย)
- ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน แบ่งเป็น ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน และห้างหุ้นส่วนจำกัด
- บริษัทจำกัด
- บริษัทมหาชนจำกัด
- องค์การธุรกิจ จัดตั้งหรือจดทะเบียนภายใต้กฎหมายเฉพาะ
ไม่เป็นนิติบุคคล (อาจต้องจดทะเบียนตาม พ.ร.บ. ทะเบียนพาณิชย์)
- กิจการเจ้าของคนเดียว
- ห้างหุ้นส่วนสามัญ
ประเภทของห้างหุ้นส่วน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แบ่งห้างหุ้นส่วนออกเป็น 2 ประเภท คือ
(1) ห้างหุ้นส่วนสามัญ
(2) ห้างหุ้นส่วนจำกัด
ห้างหุ้นส่วนสามัญ
คือ ห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกเดียว โดยผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วนไม่จำกัดจำนวน
ห้างหุ้นส่วนสามัญ จะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ได้ ดังนั้นห้างหุ้นส่วนสามัญจึงแยกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
(1) ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียน ซึ่งไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย
(2) ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ซึ่งมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายและมีชื่อเรียกโดยเฉพาะว่า "ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล"
โครงสร้างห้างหุ้นส่วนสามัญ
(1) มีผู้เป็นหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
(2) มีผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกเดียว คือ หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดชอบ โดยผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกันในบรรดาหนี้สินทั้งปวง ของห้างหุ้นส่วนไม่จำกัดจำนวน
(3) ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนเข้าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้
(4) จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือไม่ก็ได้
ถ้าจดทะเบียนเรียกว่า "ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล"
ห้างหุ้นส่วนจำกัด
คือห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 จำพวก ดังนี้คือ
(1) หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด ได้แก่ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน ซึ่งรับผิดจำกัดเพียงจำนวนเงินที่ตนรับว่าจะลงทุนในห้างหุ้นส่วนเท่านั้น
(2) หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ได้แก่ หุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งรับผิดในบรรดาหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน
โครงสร้าง "ห้างหุ้นส่วนจำกัด"
(1) มีผู้เป็นหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
(2) ผู้เป็นหุ้นส่วนมี 2 จำพวก คือ
- หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดชอบ รับผิดเฉพาะจำนวนเงินที่รับว่าจะลงหุ้นในห้างหุ้นส่วน
- หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความผิดชอบ รับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน
(3) ผู้เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้นเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ
(4) ต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การดำเนินการจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
เมื่อมีบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ตกลงใจที่จะเข้าร่วมลงทุนประกอบกิจการเป็นห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลประเภทใดประเภทหนึ่งดังกล่าวข้างต้นแล้ว ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากบรรดาผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนจะต้องเป็นผู้มีหน้าที่ดำเนินการขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่ห้างนั้นมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่
กรณีที่เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด กฎหมายกำหนดให้ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จะเป็นได้เฉพาะแต่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น
การดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหรือเลิกและชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน
ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนนั้นได้ตกลงที่จะแก้ไขเพิ่มเติมรายการใด ๆ ที่ได้จดทะเบียนไว้ เป็นอย่างอื่น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนประสงค์จะเลิกกิจการ ก็จะต้องไปดำเนินการขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมรายการนั้น ๆ หรือจดทะเบียนเลิกและเสร็จการชำระบัญชี ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่ห้างนั้นมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่
การจดทะเบียนจัดตั้งและแก้ไขเพิ่มเติมจะต้องดำเนินการตามวิธีและหลักเกณฑ์ที่กฎหมายและระเบียบของทางราชการได้กำหนดไว้
รายการจดทะเบียนที่ห้างหุ้นส่วนจะต้องจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม
(1) ชื่อห้างหุ้นส่วน
(2) ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และ/หรือสำนักงานสาขา
(3) วัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วน
(4) ผู้เป็นหุ้นส่วน
(5) หุ้นส่วนผู้จัดการ
(6) ข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการ
(7) ตราสำคัญของห้างหุ้นส่วน
(8) รายการอื่น ๆ ที่เห็นสมควรจะให้ประชาชนทราบ
(9) ควบห้างหุ้นส่วน
หน้าที่ของห้างหุ้นส่วน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มีหน้าที่ ต้องจัดทำงบการเงินประจำปี ยื่นต่อสำนักบริหารข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือสำนักงานทะเบียนการค้าจังหวัด แล้วแต่กรณี ภายใน 5 เดือน นับแต่วันปิดรอบปีบัญชี แม้ว่าจะยังมิได้ประกอบกิจการก็ตาม มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
กิจการที่กฎหมายกำหนดระยะเวลาในการยื่นจดทะเบียน
(1) คำขอจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนผู้จัดการ ต้องยื่นจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้มีการเปลี่ยนแปลง (หุ้นส่วนผู้จัดการ เข้า - ออก)
(2) คำขอจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วน ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่เลิกกัน
(3) คำขอจดทะเบียนเปลี่ยนตัวผู้ชำระบัญชี ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่ วันที่ได้เปลี่ยนตัว
(4) คำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมอำนาจผู้ชำระบัญชี ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมได้มีการลงมติ หรือวันที่ที่ศาลได้มีคำพิพากษา
(5) คำขอจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วน ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมได้มีการลงมติ
(6) การยื่นรายงานการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วน ต้องยื่นทุกระยะ 3 เดือนครั้งหนึ่งนั้น ผู้ชำระบัญชีจะต้องยื่นรายงานการชำระบัญชี ภายใน 14 วัน นับแต่วันครบกำหนด 3 เดือน
คือบริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยแบ่งทุนเป็นหุ้นแต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่า ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ
โครงสร้างของ "บริษัทจำกัด"
1. ต้องมีผู้ร่วมลงทุน อย่างน้อย 7 คน
2. แบ่งทุนออกเป็นหุ้น และมีมูลค่าหุ้นละเท่าๆ กัน
3. มูลค่าหุ้นจะต้องไม่ต่ำกว่า 5 บาท
4. ความรับผิดชอบของผู้ถือหุ้นมีจำกัด (เฉพาะจำนวนเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ)
5. ต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การดำเนินการจัดตั้งบริษัทจำกัด
ในการจัดตั้งบริษัทจำกัดนั้น จะต้องดำเนินการตามลำดับขั้นตอน ดังนี้
(1) ต้องมีผู้เริ่มก่อการตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป เข้าชื่อกันทำหนังสือบริคณห์สนธิขึ้น แล้วไปจดทะเบียน
(2) เมื่อได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องจัดให้หุ้นของบริษัทที่จะตั้งขึ้นนั้นมีผู้เข้าชื่อจองซื้อหุ้นจนครบ
(3) ดำเนินการประชุมตั้งบริษัท โดยต้องส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมให้ผู้จองทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน ก่อนวันประชุม
(4) เมื่อได้ประชุมตั้งบริษัท และที่ประชุมได้แต่งตั้งกรรมการบริษัทแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องมอบหมายกิจการให้กรรมการบริษัทรับไปดำเนินการต่อไป
(5) กรรมการบริษัทเรียกให้ผู้เริ่มก่อการและผู้จองหุ้นชำระค่าหุ้นอย่างน้อยร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้น (ทุนของบริษัทจะแบ่งเป็นกี่หุ้นก็ได้ แต่ต้องไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาท)
(6) เมื่อได้รับเงินค่าหุ้นแล้ว กรรมการต้องไปจดทะเบียนเป็นบริษัทภายใน 3 เดือน ภายหลังจากการประชุมตั้งบริษัท
การดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหรือเลิกและชำระบัญชีบริษัทจำกัด
ในกรณีที่บริษัทจำกัดนั้นได้ตกลงที่จะแก้ไขเพิ่มเติมรายการใด ๆ ที่ได้จดทะเบียนไว้ เป็นอย่างอื่น หรือผู้ถือหุ้นจะเลิกกิจการ ก็จะต้องไปดำเนินการขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมรายการนั้น ๆ หรือจดทะเบียนเลิกและเสร็จการชำระบัญชี ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่ห้างนั้นมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่
การจดทะเบียนจัดตั้งและแก้ไขเพิ่มเติมจะต้องดำเนินการตามวิธีและหลักเกณฑ์ที่กฎหมายและระเบียบของทางราชการได้กำหนดไว้
รายการจดทะเบียนที่บริษัทจะต้องจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม
3.1 การแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิก่อนการตั้งบริษัท
3.2 มติพิเศษของบริษัทให้
(1) เพิ่มทุน
(2) ลดทุน
(3) ควบบริษัท
3.3 ควบบริษัท
3.4 แก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริดณห์สนธิภายหลังตั้งบริษัท
3.5 เพิ่มทุน
3.6 ลดทุน
3.7 กรรมการ
3.8 จำนวนหรือชื่อกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัท
3.9 ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และ/หรือสำนักงานสาขา
3.10 ตราของบริษัท
3.11 รายการอื่นที่เห็นสมควรจะให้ประชาชนทราบ
หน้าที่ของบริษัทจำกัด
(1) บริษัทจำกัด ต้องทำงบการเงินอย่างน้อยครั้งหนึ่งทุกรอบสิบสองเดือน โดยมีผู้ สอบบัญชีอย่างน้อยหนึ่งคนตรวจสอบ แล้วนำเสนอที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นอนุมัติงบการเงินภายใน 4 เดือน นับแต่วันปิดรอบปีบัญชี พร้อมทั้งยื่นงบการเงินต่อสำนักบริการข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด ภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันอนุมัติงบการเงิน ทั้งนี้รวมถึงบริษัทที่แม้ว่าจะยังมิได้ประกอบกิจการก็ตาม จะต้องส่งงบการเงินด้วย มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
(2) จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันที่ที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นและให้นำส่งต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร หรือที่สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดแล้วแต่กรณี ภายใน 14 วัน นับจากวันที่ประชุม มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
(3) ต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญ ภายหลัง 6 เดือน นับแต่วันจดทะเบียน เป็นนิติบุคคล และจัดประชุมครั้งต่อไปอย่างน้อย 1 ครั้ง ทุกระยะเวลา 12 เดือน
(4) ต้องจัดทำใบหุ้นมอบให้ผู้ถือหุ้นของบริษัท มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
(5) ต้องจัดทำสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัท มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
กิจการที่กฎหมายกำหนดระยะเวลาในการยื่นจดทะเบียน
(1) คำขอจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ซึ่งต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 3 เดือน นับแต่วันประชุมตั้งบริษัท
(2) คำขอจดทะเบียนแต่งตั้งกรรมการของบริษัทขึ้นใหมและ/หรือกรรมการออกจากตำแหน่ง ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ตั้งกรรมการขึ้นใหม่ หรือกรรมการออกจากตำแหน่ง
(3) คำขอจดทะเบียนมติพิเศษให้เพิ่มทุน หรือลดทุนของบริษัทจำกัด หรือให้ควบบริษัทจำกัด ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมได้มีการลงมติพิเศษ
(4) คำขอจดทะเบียนตั้งข้อบังคับขึ้นใหม่ หรือแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของบริษัทจำกัด ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมได้มีการลงมติพิเศษ
(5) คำขอจดทะเบียนควบบริษัทจำกัด ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้มีการควบบริษัทเข้ากัน
(6) คำขอจดทะเบียนเลิกบริษัทจำกัด ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่เลิกกัน
(7) คำขอจดทะเบียนเปลี่ยนตัวผู้ชำระบัญชี ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้เปลี่ยนตัว
(8) คำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมอำนาจผู้ชำระบัญชี ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมได้มีการลงมติ หรือวันที่ที่ศาลได้มีคำพิพากษา
(9) คำขอจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีของบริษัทจำกัด ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมได้มีการลงมต
ลักษณะของบริษัทมหาชนจำกัด
บริษัทมหาชนจำกัด คือ บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยประสงค์ที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน โดยผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจำกัดไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระ และบริษัทดังกล่าวได้ระบุความ ประสงค์เช่นนั้นไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ
อาจสรุปได้ว่า พ.ร.บ. บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 ได้กำหนดลักษณะโครงสร้างของบริษัทมหาชนจำกัดไว้ ดังนี้
(1) จำนวนผู้ถือหุ้น มีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป
(2) ทุนจดทะเบียน ไม่มีการกำหนดจำนวนทุนจดทะเบียนขั้นต่ำไว้
(3) มูลค่าหุ้นและการชำระเงินค่าหุ้น หุ้นของบริษัทมหาชนจำกัดแต่ละหุ้นจะต้องมีมูลค่าเท่ากัน และต้องชำระค่าหุ้นครั้งเดียวเต็มมูลค่าหุ้น
(4) จำนวนกรรมการ ต้องมีจำนวนกรรมการของบริษัทไม่น้อยกว่า 5 คน และกรรมการไม่น้อย กว่ากึ่งหนึ่งต้องมีที่อยู่ในประเทศไทย
การจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด
การจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด อาจดำเนินการโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้
(1) การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท เริ่มโดยบุคคลธรรมดาตั้งแต่ 15 คน ขึ้นไปดำเนินการ จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ แล้วดำเนินการจัดทำหนังสือชี้ชวนประชาชนให้ซื้อหุ้น หรือเมื่อผู้เริ่มจัดตั้งได้จองซื้อหุ้นทั้งหมดครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว ก็จะเรียกประชุมจัดตั้งบริษัท หลังจากนั้นผู้เริ่มจัดตั้งจะต้องส่งมอบกิจการและเอกสารทั้งปวงให้แก่คณะกรรมการของบริษัทมหาชนจำกัดที่ได้รับเลือกตั้ง เพื่อนำความไปจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทต่อไป
ดูคำแนะนำขั้นตอนการจดทะเบียนตั้งบริษัทมหาชนจำกัด
(2) การแปรสภาพบริษัทเอกชนเป็นบริษัทมหาชนจำกัด บริษัทเอกชนอาจแปรสภาพเป็น บริษัทมหาชนจำกัดได้ เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติพิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ดูคำแนะนำขั้นตอนการแปรสภาพบริษัทเอกชนเป็นบริษัทมหาชนจำกัด
การควบบริษัท
บริษัทมหาชนจำกัดตั้งแต่บริษัทสองบริษัทขึ้นไป หรือบริษัทมหาชนจำกัดกับบริษัทเอกชน จะควบกันเป็นบริษัทมหาชนจำกัดก็ได้ โดยที่ประชุมผู้ถือหุ้นของแต่ละบริษัทที่จะควบเข้ากันลงมติไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน โดยในกรณีที่เป็นการควบกับบริษัทเอกชนที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทเอกชนนั้น จะต้องมีมติพิเศษให้ควบกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ขั้นตอนการจดทะเบียนควบบริษัทมหาชนกับบริษัทเอกชน
วิธีการจดทะเบียน
วิธีการจดทะเบียนมีหลักเกณฑ์และวิธีการทั่วๆ ไป ทำนองเดียวกันกับการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท
สถานที่ยื่นคำขอจดทะเบียน
การยื่นขอจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) ยื่นต่อนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
(2) ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด ในจังหวัดที่สำนักงานใหญ่ของ บริษัทตั้งอยู่
(3) ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงนายทะเบียน ณ ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ค่าธรรมเนียม
การจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด ผู้ขอจดทะเบียนต้องชำระค่าธรรมเนียมตามประเภทการจดทะเบียนต่าง ๆ ดังนี้
(1) การจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิบริษัท
ทุกจำนวนเงินไม่เกิน 1,000,000 บาทแห่งจำนวนทุนที่จดทะเบียนไว้--1,000 บาท
เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น 1,000,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน --50,000 บาท
(2) การจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ
เพื่อเพิ่มทุนก่อนจดทะเบียนเป็นบริษัท
ทุกจำนวนเงินไม่เกิน 1,000,000 บาท แห่งจำนวนทุนที่กำหนดเพิ่มขึ้น -1,000 บาท
เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น 1,000,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน -50,000 บาท
(3) การจดทะเบียนบริษัท
ทุกจำนวนเงินไม่เกิน 1,000,000 บาทแห่งจำนวนทุนที่กำหนดไว้ -1,000 บาท
เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น 1,000,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน -250,000 บาท
(4) การจดทะเบียนแปรสภาพบริษัทเอกชน
ทุกจำนวนเงินไม่เกิน 1,000,000 บาท แห่งจำนวนทุนที่กำหนดไว้1,000บาท
เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น 1,000,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน -50,000 บาท
(5) การจดทะเบียนควบบริษัท-10,000 บาท
(6) การจดทะเบัยนเลิกบริษัท 500 บาท
(7) การจดทะเบียนเรื่องอื่นๆเรื่องละ 500 บาท
(8) การออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน ฉบับละ 200 บาท
(9) การขอสำเนาหรือขอให้ถ่ายเอกสารพร้อมทั้งคำรับรอง หน้าละ 50 บาท ถ้าเป็นการขอสำเนาหรือขอถ่ายเอกสาร พร้อมทั้งคำรับรองของบริษัท
นอกเขตจังหวัดอันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทนั้น ให้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้เท่าที่จำเป็นและใช้จ่ายไปจริง
(10) การรับรองข้อความในใบทะเบียน เรื่องละ 40 บาท
หน้าที่ของบริษัทมหาชนจำกัด
(1) บริษัทต้องยื่นบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น วันประชุมสามัญประจำปีต่อนายทะเบียนภายใน 1 เดือน นับแต่วันเสร็จการประชุม
(2) บริษัทต้องจัดส่งรายงานประจำปี สำเนางบการเงิน สำเนารายงานการประชุมผู้ถือหุ้นเกี่ยวกับ อนุมัติงบการเงิน การจัดสรรกำไร และการแบ่งเงินปันผลไปยังนายทะเบียนภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติงบการเงินนั้นและต้องโฆษณาทางหนังสือพิมพ์อย่างน้อย 1 วัน
(3) บริษัทต้องจัดทำป้ายชื่อไว้หน้าสำนักงานแห่งใหญ่และสำนักงานสาขา
(4) บริษัทต้องแสดงชื่อ ที่ตั้งสำนักงาน และเลขทะเบียนไว้ในจดหมายประกาศใบแจ้งความ ใบส่งของและใบเสร็จรับเงิน
(5) บริษัทต้องจัดทำใบหุ้นมอบแก่ผู้ถือหุ้นภายใน 2 เดือน นับแต่วันที่ได้รับจดทะเบียนเป็น บริษัทมหาชนจำกัด หรือนับแต่วันที่ได้รับเงินค่าหุ้นครบและได้จดทะเบียนเพิ่มทุนแล้ว
อ (6) บริษัทต้องจัดทำทะเบียนผู้ถือหุ้น ทะเบียนกรรมการ รายงาน การประชุมคณะกรรรมการ และรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท เก็บไว้ ณ สำนักงานแห่งใหญ่หรือเก็บไว้ที่บุคคลอื่นที่ได้แจ้งให้นายทะเบียนทราบแล้ว
อ (7) บริษัทต้องจัดทำและเก็บรักษา บัญชี งบดุล บัญชีกำไรขาดทุน รวมทั้งให้ผู้สอบบัญชี ตรวจสอบ และนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติ
(8) บริษัทต้องจัดส่
การจดทะเบียนพาณิชย์ ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499
ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์
ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์ คือ บุคคลธรรมดาคนเดียว หรือหลายคน (ห้างหุ้นส่วนสามัญ) หรือนิติบุคคล
รวมทั้งนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย ต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย ซึ่งประกอบกิจการ
อันเป็นพาณิชยกิจตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด
กิจการที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้ออกประกาศให้ผู้ประกอบกิจการดังต่อไปนี้ ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ คือ
1. ผู้ประกอบกิจการโรงสีข้าวและโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร
2. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่าง คิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่ง
ขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาท ขึ้นไปหรือมีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขายมีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
3. นายหน้าหรือตัวแทนค้าต่างซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้าไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม
และสินค้านั้นมีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป
4. ผู้ประกอบกิจการหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และ
ขายสินค้าที่ผลิตได้ คิดราคารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไปหรือในวันหนึ่งวันใดมี
สินค้าที่ผลิตได้มีราคารวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
5. ผู้ประกอบกิจการขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟหรือเรือยนต์ประจำทาง การขนส่งโดยรถไฟ
การขนส่งโดยรถราง การขนส่งโดยรถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด การรับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน การ
รับแลกเปลี่ยน หรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การโพยก๊วน การทำโรงรับ
จำนำ และการทำโรงแรม
6. ขาย ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดิทัศน์
ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
7. ขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี
8. ซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต บริการ
อินเตอร์เน็ต ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย บริการเป็นตลอดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ
โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
9. การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเตอร์เน็ต
10. การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ
11. การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์
12. การให้บริการตู้เพลง
13. โรงงานแปรสภาพ แกะสลักและการหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีก การค้าส่งงาช้างและผลิตภัณฑ์
จากงาช้าง
พาณิชยกิจที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
มีพาณิชยกิจบางอย่างที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ คือ
1. การค้าเร่ การค้าแผงลอย
2. พาณิชยกิจเพื่อการบำรุงศาสนาหรือเพื่อการกุศล
3. พาณิชยกิจของนิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น
4. พาณิชยกิจของกระทรวง ทบวง กรม
5. พาณิชยกิจของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์
6. พาณิชยกิจซึ่งรัฐมนตรีได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้แก่
6.1 บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญ จดทะเบียน ที่เป็นนิติบุคคลตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยหุ้นส่วนและบริษัท และได้ยื่นแบบแสดงรายการเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ
ของห้างหุ้นส่วนบริษัทไว้แล้วต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ยกเว้นบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วน
สามัญจดทะเบียน ที่ประกอบกิจการต่อไปนี้ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ด้วย
(1) ขาย ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดี
หรือแผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
(2) ขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี
(3) ซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระเบบเครื่องข่าย
อินเตอร์เน็ต บริการอินเตอร์เน็ตให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขาย
สินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครื่อข่ายอินเตอร์เน็ต
(4) การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเตอร์เน็ต
(5) การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ
(6) การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์
(7) การให้บริการตู้เพลง
(8) โรงงานแปรสภาพ และสลักและการทำหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีกการค้าส่ง
งาช้างและผลิตภัณฑ์จากงาช้าง
6.2 พาณิชยกิจของกลุ่มเกษตรกรที่ได้จดทะเบียนตาม ปว.141 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2515
1. สรุป เอกสารส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ (กรุงเทพฯ) / พาณิชย์จังหวัด (ต่างจังหวัด) ดังนี้
2. สรุปเอกสารที่ต้องส่งกรมสรรพากร ดังนี้
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||